โครงสร้างของ
AutoLISP
AutoLISP เป็นภาษาโครงสร้างภาษาหนึ่งที่มีลักษณะการเขียนโปรแกรมคล้ายกับภาษา
C หรือ Pascal แต่จะกระทำได้ง่ายกว่าตรงที่ว่าไม่ต้องมีการประกาศหรือกำหนดชนิดของตัวแปรขณะที่ขึ้นต้นโปรแกรมซึ่งจะทำให้เขียนได้ง่าย
เหมือนภาษา BASIC ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรม AutoLISP จึงไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างและชนิดของตัวแปรมากนัก
ก็สามารถที่จะเขียนโปรแกรม AutoLISP ได้
ลักษณะการใช้งาน AutoLISP
แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1. Direct Mode เป็นการติดต่อกับ AutoLISP โดยตรง ขณะที่อยู่ Command
Prompt คล้ายภาษา BASIC ที่เขียนโดยไม่ได้กำหนดหมายเลขบรรทัด
2. Programmed Mode เป็นการเขียนโปรแกรม AutoLISP ให้อยู่ในรูปแบบ Text
File ก่อนแล้วเรียกเข้ามาในหน่วยความจำ
จากนั้นจึงสั่งรันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะการใช้งาน AutoLISP แบบ Direct Mode จะใช้ได้เพียงครั้งเดียว แต่แบบ Programmed
Mode สามารถเรียกมาใช้ภายหลังได้
นอกจากนั้นยังสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมบางส่วนได้อีกด้วย
การเก็บโปรแกรมอยู่ในรูปของ Text File นามสกุลจะต้องเป็น .LSP
เท่านั้น
จากลักษณะการใช้งาน
AutoLISP
ทั้ง 2 แบบนั้นเราจะศึกษาเน้นหนักในรูปแบบของ Programmed
Mode ซึ่งจะมีประสิทธิภาพการใช้งานดีกว่ามาก
เราจะอาศัยหลักการเป็นภาษาโครงสร้างนี้ มาใช้ให้เป็นประโยชน์
โดยเราจะทำการแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วน ๆ ที่แยกการทำงานเป็นแบบโมดูล (Module)
ซึ่งจะง่ายต่อการเขียนโปรแกรมและตรวจหาที่ผิด (Debug) นอกจากนี้ยังสามารถนำโมดูลนี้ไปใช้กับโปรแกรมตัวอื่น
ๆ ได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ดังนั้น
เราควรมีการวางแผนการเขียนโปรแกรมไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเขียนโปรแกรมเสมอ
โดยการวิเคราะห์และเขียนโฟลว์ชาร์ตขึ้นมา
จากนั้นจึงพยายามทำการรวบรวมคำสั่งที่ต้องถูกเรียกใช้งานบ่อย ๆ
หรือกลุ่มคำสั่งที่ซับซ้อนมาก ๆ เข้าด้วยกัน
และควรเขียนโปรแกรมขึ้นในลักษณะแบบบล็อก (Block) ที่เป็นฟังก์ชั่นที่สามารถถูกเรียกใช้งานได้
แล้วค่อยเขียนโปรแกรมเมนหลักให้ทำการดึงฟังก์ชั่นนั้นมาใช้งานอีกทีภายหลัง
Cr. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม – พื้นฐานการเขียนโปรแกรม AutoLISP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น