รูปแบบการเขียนโปรแกรม AutoLISP
การเขียนโปรแกรม AutoLISP
ขึ้นมาใช้งานบน AutoCAD ถือได้ว่าเป็นการสร้างฟังก์ชั่นใหม่ขึ้นมา
ซึ่งในการเขียนโปรแกรม AutoLISP ขึ้นมาใหม่นั้น
จะต้องมีการกำหนดให้เป็นฟังก์ชั่นเสียก่อน โดยการ
DEFUN ซึ่งย่อมาจาก DEfine
FUNction ลักษณะการกำหนดรูปแบบดังนี้
(DEFUN C:FUNCNAME (Argument)
(Expression)
(Expression)
(Expression)
.
.
.
)
เราจะสังเกตได้ว่า
จำนวนวงเล็บเปิด และวงเล็บปิด จะสมดุลกัน และใน AutoLISP จะถือว่าการใช้อักษรตัวใหญ่
หรืออักษรตัวเล็กมีค่าเหมือนกัน
C: เป็นตัวเลือก
จะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามี
แล้วฟังก์ชั่นนั้นสามารถเรียกใช้งานได้เลยทาง Command line ได้เลย
เช่นเดียวกันกับคำสั่งของ AutoCAD โดยทั่วไป แต่ ถ้าไม่มี
แล้ว การเรียกใช้จะต้องเรียกในลักษณะฟังก์ชั่น
หรือกำหนดให้ฟังก์ชั่นอื่นเรียกใช้งานอีกที
FUNCNAME คือชื่อของฟังก์ชั่นที่เราจะสร้างขึ้นมาใหม่
จะต้องไม่ซ้ำกับชื่อฟังก์ชั่นที่มีอยู่แล้ว
Argument เป็นรายการตัวแปรที่จะเป็นสะพานเชื่อมไปยังฟังก์ชั่นตัวอื่น
ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าเราใส่ Argument ลงไปก็จะมีการส่งค่าไปยังฟังก์ชั่นอื่นได้
เหมาะสำหรับการเขียนแยกทีละโมดูล หลาย ๆ โมดูล
Expression เป็นรายการคำสั่งที่เราเขียนขึ้นมาให้
AutoCAD ทำงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เรากำหนดไว้
เราสามารถสรุปรวบรวมรูปแบบการ DEFUN ได้ดังต่อไปนี้
1. (DEFUN
FUNCNAME ( ) . . . . . )
ตัวแปรทั้งหมดเป็น Global
Variable
2. (DEFUN FUNCNAME ( / a b ) . . . . . )
a และ b เป็น Local Variable
3. (DEFUN FUNCNAME ( c ) . . . . . )
c เป็น Leading
Variable
4. (DEFUN C:FUNCNAME ( ) . . . . . )
เราสามารถเรียกใช้ FUNCNAME ได้เลยทาง Command line
ในการเขียนโปรแกรม
AutoLISP
ขึ้นมานั้น เราจะใช้โปรแกรมจำพวก Text Editor ในการสร้างโปแกรมขึ้นมาในรูปแบบของ
Text File และต้องบันทึกนามสกุล .LSP เสมอ
โปรแกรมจำพวก Text Editor ที่เราเลือกมาใช้ในการเขียนโปรแกรม
AutoLISP นี้ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
ควรเป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก ใช้งานง่ายและไม่เสียเวลาในการเรียกใช้งานมากนัก
เพราะในทางปฏิบัติแล้ว เราจะต้องทำการแก้ไขโปรแกรม สลับไปกับการทดสอบรันโปรแกรม
อยู่ตลอดเวลา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Cr. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม – พื้นฐานการเขียนโปรแกรม AutoLISP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น